Friday, November 22, 2024
HomeMusicรู้หรือไม่? แผ่นเสียงแจ๊สสมัยก่อน มีส่วนทำให้เกิดการทำ 'อัลบั้ม'

รู้หรือไม่? แผ่นเสียงแจ๊สสมัยก่อน มีส่วนทำให้เกิดการทำ ‘อัลบั้ม’

ในยุคที่ดนตรีแจ๊สกลายเป็นดนตรีป๊อปของคนทั่วโลก แผ่นเสียงก็ได้รับความนิยมตามไปด้วย เดิมทีสมัยนั้น คนมักจะนิยมฟังแผ่นเสียงที่เรียกว่า ‘แผ่นครั่ง’ หรือเรียกกันว่า Wax 78 เป็นแผ่นที่มีข้อจำกัดเยอะ ต้องใช้หัวเข็มที่มีขนาดใหญ่เหมือนตะปูในการเล่น อีกทั้งไม่ต่างกับแผ่นซิงเกิลที่บันทึกเสียงได้เพียง 3-4 นาที ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็กลายเป็นอุปสรรคในการสร้างสรรค์ของเหล่านักดนตรี โดยเฉพาะนักดนตรีแจ๊สที่ชอบอิมโพรไวซ์นาน ๆ

แต่แล้วเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นก็ได้สร้างแผ่นเสียงที่เรียกว่า LP (Long Playing Record) หรือคนสมัยนั้นจะรู้จักมันในชื่อ Microgroove 

แผ่นเสียงในลักษณะนี้ถูกสร้างขึ้นจากไวนิล และถูกออกแบบให้มีล่องเสียงที่เล็กลง เพื่อให้เส้นทางเดินของล่องเสียงมากขึ้น นั่นหมายความว่า เจ้าแผ่น Long Play (LP) 1 แผ่น จะสามารถบันทึกเพลงได้มากกว่าเดิมถึง 20 นาที ซึ่งตรงจุดนี้แหละจึงเป็นเป็นที่มาของการเกิดคำว่า “อัลบั้ม”

ค่าย Columbia เป็นค่ายแรกที่ริเริ่มทำเจ้าแผ่น Long Play แต่หลังจากนั้นค่าย RC Victor ก็หันมาทำด้วย 

แผ่น Long Play กลายเป็นตัวกระตุ้นอุสาหกรรมดนตรีอย่างแท้จริง เพราะเป็นการช่วยให้นักดนตรีสามารถเล่นได้ยาวขึ้น โชว์ของได้มากขึ้น 

แม้แผ่นเสียงจะเป็นตัวทลายข้อจำกัดให้วงการดนตรีเติบโตไปข้างหน้า แต่ถึงกระนั้นก็มีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการบันทึกเสียงแท็คยาวๆ เพราะพวกเขายังคุ้นชินกับแผ่นเสียงในยุค บีบ็อพ เช่นเพลง Song For My Father ของ ฮอเรซ ซิลเวอร์ เป็นต้น

แต่ถ้าถามว่าบทเพลงแรก ๆ ที่มีการทดสอบโซโล่ยาว ๆ บนแผ่น Long Play ก็คือเพลง ‘East Of The Sun’ ของ ซูธ ซิมป์ ซึ่งมีเหตุมาจากโปรดิวเซอร์ของเขาพยายามให้เขาเล่นไปเรื่อย ๆ สุดท้ายเพลงนี้จบลงโดยใช้ระยะเวลาไป 11 นาที 

การบันทึกเสียงได้นานขึ้นอย่างนี้ ทำให้วิธีการสร้างสรรค์งานของนักดนตรีเปลียนไป แต่ใช่ว่า ค่าย Major Label ทั้งหลายจะเห็นด้วยกับนวัฒกรรมนี้ นั่นจึงเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เกิดค่ายแจ๊สอินดี้  Blue Note , Prestige เพรสทีส , Riverside , Contemporary ซึ่งต่อมาค่ายเหล่านี้กลายเป็นตำนานค่ายเพลงที่ผลักดันดนตรีแจ๊สให้พัฒนาไปได้ถึงขีดสุด 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular